รักษ์สุขภาพ - ตอนที่ 26 อาหารการกิน (4)

  • การไม่ขัดสี (Non-polishing) หมายถึง การไม่ขัดเอาส่วนผิวนอกออกไป เช่น การไม่ทำให้ข้าว (Rice) เป็นสีขาว และการไม่ทำแป้งขนมปัง (Bread) ให้เป็นสีขาว ผิวนอกของธัญพืชที่ถัดจากเปลือกเข้ามา เป็นส่วนที่มีคุณค่าทางโภชนาการ (Nutrient) สูงสุด เพราะมีทั้งโปรตีน, วิตามิน, เกลือแร่, และกากเส้นใย (Fiber) การขัดผิวนอกออกจึงเป็นการทำลายคุณค่าของอาหารไปอย่างน่าเสียดาย
  • การไม่ปรุงแต่งเก็บถนอม (Non-processing) หมายถึง การไม่นำอาหารธรรมชาติเข้าสู่กระบวนการเก็บถนอม (Preserve) อาหาร เช่น การทำไส้กรอก (Sausage), เบคอน, และหมูแฮม [รวมทั้งแหนมและกุนเชียง] หรือเข้าสู่กรบวนการปรับแต่งเชิงอุตสาหกรรม เพื่อให้โครงสร้างทางเคมี (Chemical structure) ของอาหารนั้นเปลี่ยนไป เช่นการใส่ไฮโดรเจนเข้าในไขมันไม่อิ่มตัว เพื่อให้เป็นไขมันทรานส์ (Trans fat) แล้วนำมาทำอาหารสำเร็จรูป เช่น คุกกี้, ขนมกรอบ, เนยเทียม (Margarine) เป็นต้น

งานวิจัยแบบสุ่มตัวอย่าง (Random samples) แบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า อาหารพืชเป็นหลักแบบไขมันต่ำ (Plant-based, whole food: PBWF) สามารถรักษาโรคหัวใจให้พลิกผัน (Reverse) จนหายได้, รักษาโรคเบาหวาน (Diabetes) ให้หายขาดได้, และลดอาหารปวดข้อในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) ได้ดีกว่าอาหารทั่วไป และลดน้ำหนักได้มากกว่า

ในการแนะนำให้เปลี่ยนอาหารทั่วไป มาเป็นอาหารแบบพืชเป็นหลัก งานวิจัยที่มหาวิทยาลัย Standford สรุปว่า หากเป็นผู้กินอาหารมีกากใย (Fiber) อยู่บ้างแล้ว การเปลี่ยนแปลงจะมีผลลดตัวชี้วัด (Indicator) การอักเสบในลำไส้ (Intestinal inflammation) ลงทันที (Immediately)

แต่หากเป็นผู้ที่มิได้กินอาหารที่มีกากใยมาก่อนเลย การเปลี่ยนแปลงจะทำให้ตัวชี้วัดการอักเสบในลำไส้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในช่วงแรกที่ยังไม่คุ้นเคย (Accustomed) กับอาหาร ท้องไส้อาจปั่นป่วน (Stomach upset) เล็กน้อย แต่หลังจากนั้นจะดีขึ้นกว่าเดิม กล่าวคือ มีผลลดตัวชี้วัดการอักเสบในลำไส้ลง

อาหารแปรรูปบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean)

องค์ประกอบ (Component) สำคัญของอาหารของผู้อาศัยอยู่รอบทะเลแห่งนี้ มีอยู่ 7 ประการ ดังนี้

  1. กินพืชเป็นอาหารหลัก ซึ่งมีหลากหลาย (Variety) รูปแบบ
  2. กินปลาและอาหารทะเลมาก เช่น ปลา Tuna, Hering, Sardine, และ Salmon รวมทั้ง กุ้ง, หอย, และปลาหมึก โดยไม่ต้องนับคอเลสเตอรอล (Cholesterol) เลย
  3. กินไก่, นก, ไข่ (รวมไข่ไก่, ไข่เป็ด, และไข่นกกระทา) โดยไม่ต้องนับจำนวนว่า กินวันละกี่ฟอง
  4. กินโยเกิร์ต (Yogurt) กับเนยแข็ง (Cheese) โดยเน้นเนยแข็งที่บ่มจนได้ที่ ซึ่งทำให้เกิดแบคทีเรีย หรือ โพรไบโอติกส์ (Probiotics) มากขึ้น

แหล่งข้อมูล 

  1. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. และ พญ. ดร. พิจิกา วัชราภิชาต (2566). Healthy Life Bible คัมภีร์สุขภาพดี: สุขภาพดีได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท ฟรีมาย์ พับลิชชิ่ง จำกัด.